ผลไม้บำรุงความจำ
สมองและความจำเป็นสิ่งสำคัญ
ไม่ว่าสำหรับวัยเรียน
วัยทำงาน ไปจนถึงวัยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
บทความนี้เราจึงคัดเลือกผักผลไม้
9
ชนิด ที่สามารถหารับประทานได้ง่ายในประเทศไทย
และมีงานวิจัยรองรับว่ามีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจำ
หรือลดความเสี่ยงจากภาวะสมองเสื่อม
1) ผลไม้ในสกุลส้ม (Citrus) เมื่อเปรียบเทียบชาวญี่ปุ่นที่รับประทานผลไม้สกุลส้มเป็นประจำ
กับผู้ที่ทานส้มน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม
(dementia) ต่ำกว่า [1] ทั้งนี้ เนื่องจากผลไม้ตระกูลส้มมีสารกลุ่ม
ฟลาโวนอยด์ เช่น นารินจิน (Naringin) ซึ่งส่งผลดีต่อระบบประสาทและสมอง
[2]
2)
ผลแตงกวา แตงกวามีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ชื่อว่า ฟิเซติน (Fisetin) ซึ่งส่งผลดีต่อการลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังต่างๆ
รวมถึงระบบประสาทและความจำ [3, 4]
3)
องุ่น นอกจากจะดีต่อสุขภาพในระยะยาวแล้ว การรับประทานน้ำองุ่นทุกวัน วันละ 1 แก้ว (230 ml) เป็นเวลา 3-6 เดือนยังมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความจำทางด้านภาษา หรือคำพูด (verbal
memory) อีกด้วย องุ่นจึงเป็นผลไม้ที่น่าสนใจสำหรับคนทุกช่วงช่วงอายุ
[5] นอกจากการรับทานผล สารสกัดจากเมล็ดองุ่นที่มีสารในกลุ่มโปรแอนโทไซยานิดิน
(proanthocyanidins) สูง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการดูแลสุขภาพ
เนื่องจากความประหยัดและสะดวกในการรับประทาน [6]
4)
สตรอว์เบอร์รี่ ผลไม้ประเภทเบอร์รี่
ไม่ว่าจะเป็นสตรอว์เบอร์รี่
หรือ บลูเบอร์รี่ มีสารในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์สูง ช่วยลดความเสื่อมถอยของสมอง (cognitive
decline) [7]
5)
บรอกโคลี เป็นหนึ่งในผักที่รับประทานง่าย สารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ในบรอกโคลีมีฤทธิ์ช่วยปกป้องเซลล์ประสาท [8] การรับประทานบรอกโคลีช่วยลดความเสื่อมถอยของสมองได้เช่นกัน [9]
6) มะเขือเทศ มีสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์และสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในไขมัน
(Lipophilic antioxidants) สูง [10] งานวิจัยพบว่าการรับประทานมะเขือเทศอาจส่งผลให้ระบบความจำทำงานได้ดี [3]
7) ใบแปะก๊วย
มีประวัติการใช้เป็นยาแผนโบราณเพื่อป้องกันและรักษาภาวะความจำเสื่อม ปัจจุบันนิยมใช้ในรูปแบบสารสกัด
สารสกัดใบแปะก๊วยมีผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนเลือด [11] ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพความจำและคลายความวิตกกังวล [12] อย่างไรก็ตามผลการศึกษาประสิทธิภาพของใบแปะก๊วยต่อการป้องกันและรักษาภาวะความจำเสื่อมมีความขัดแย้งกัน
(มีทั้งได้ผลและไม่ได้ผล) จีงต้องใช้ในขนาดและข้อบ่งใช้ที่เหมาะสม [13] นอกจากนี้การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่ออาการเลือดออกง่าย
[14] จีงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน
8) แอปเปิ้ล
เป็นหนึ่งในผลไม้ที่มีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์
อาจมีส่วนช่วยในการบำรุงความจำและความสามารถในการเรียนรู้
งานวิจัยพบว่าการรับประทานแอปเปิ้ลมีความสัมพันธ์กับคะแนนการทดสอบ National
Adult Reading Test (NART) ที่สูงขึ้น
(การทดสอบนี้เป็นหนึ่งในวิธีทดสอบเบื้องต้นในการคัดกรองภาวะความจำเสื่อม)
[15]
9) พรมมิ
สามารถรับประทานสดได้ มีความน่าสนใจตรงที่ขนาดที่มีประสิทธิภาพในการบำรุงความจำเป็นขนาดที่สามารถรับประทานเป็นอาหารได้อย่างปลอดภัย
(ประมาณ 1
จาน) ปัจจุบันมีจำหน่ายในรูปสารสกัด
โดยมีทั้งสารสกัดนำเข้า และสารสกัดที่ผลิตจากในประเทศไทย
ในตำรับยาอายุรเวทมีการใช้พรมมิเพื่อบำรุงความจำ
จากงานวิจัยพบว่าการรับประทานพรมมิสามารถช่วยพัฒนาความจำได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ โดยไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง
(ในเด็กบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน) [16]
ข้อแนะนำ
-
การศึกษาบ่งชี้ว่าว่าความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความจำเสี่อมจะลดลงได้อย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อรับประทานผักผลไม้เป็นประจำต่อเนื่องเป็นเวลานาน
[17]
-
การได้รับน้ำตาลปริมาณสูงจากผลไม้ หรือการทานผักผลไม้บางชนิดมากเกินไปอาจส่งผลเสียได้เช่นกัน จึงอาจเลือกรับประทานผลไม้หลายหลายชนิดสลับกันไปตามความเหมาะสม เพื่อลดโอกาสเกิดผลข้างเคียง
-
การรับประทานผลไม้ที่มีความเป็นกรด เช่น องุ่น แอปเปิ้ล
หรือผลไม้ตระกูลส้มอาจทำให้เหงือกและฟันผุกร่อน [18] จึงควรกลั้วปากด้วยน้ำเปล่าทุกครั้งหลังจากรับประทาน
-
ระยะเวลาการเก็บรักษา และความร้อนที่เกิดขึ้นในกระบวนการแปรรูปผักผลไม้อาจทำให้สารสำคัญลดลง
(ยกเว้นในมะเขือเทศที่สารต้านอนูมูลอิสระจะเพิ่มขึ้นหลังผ่านความร้อน) [19]
รูปภาพ
โดย Gibb
Corner
เรียบเรียงบทความ
โดย Gibb
Corner
แหล่งอ้างอิง
[1]
Zhang
et al., 2017. doi:10.1017/S000711451700109X
[2]
Gollapalle
et al., 2017. doi.org/10.1016/j.biopha.2017.07.072
[3]
Pal et al., 2016. doi.org/10.1007/978-3-319-41334-1_10
[4]
Nurk et al., 2010. doi.org/10.1017/S0007114510001807
[5]
Ramsay et al., 2017. doi: 10.1007/s00394-017-1454-7
[6]
Prasain et al., 2010. doi: 10.1016/j.maturitas.2010.01.010
[7]
Elizabeth et al., 2012. doi:10.1002/ana.23594
[8]
Shirai et al., 2015. doi: 10.1371/journal.pone.0127244
[9]
Morris et al., 2006. doi:10.1212/01.wnl.0000240224.38978.d8
[10]
Del Giudice et al., 2017. doi: 10.1002/jsfa.7910
[11]
Sadowska-Krępa
et al., 2017. doi: 10.3390/nu9080803
[12] Singh et al., 2017. doi:
10.2174/1389200217666161201112206
[13] Diamond & Bailey, 2013. doi.org/10.1016/j.psc.2012.12.006
[14] Tan et al., 2015. doi: 10.3233/JAD-140837
[15] Butchart et al., 2011.
doi.org/10.1017/S0007114510005738
[16] Kean et al., 2016. doi.org/10.1016/j.ctim.2016.09.002
[17]
Lamport et al., 2014. doi:10.1111/nure.12149
[18]
Dungmore & Rock, 2004. doi:10.1038/sj.bdj.4811041
[19]
Nayak et al., 2015. doi:10.1080/10408398.2011.654142
Comments
Post a Comment