Posts

“วิธีทานของหวานแต่ได้รับผลเสียจากน้ำตาลน้อยลง”

Image
เพิ่มคำอธิบายภาพ “ วิธีทานของหวานแต่ได้รับผลเสียจากน้ำตาลน้อยลง ”     ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีผู้คนมากมายแสวงหายาอายุวัฒนะเพื่อใช้บำรุงร่างกายให้แข็งแรงและมีอายุยืนยาว หลักฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุว่า “ การควบคุมอาหารหรือแคลอรี่ที่ได้รับต่อวันในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป ” เป็นหนึ่งในวิธีชะลอวัยที่ได้ผลดีที่สุด     แม้ว่าผลดีของการควบคุมอาหารเป็นเรื่องที่รู้กันดี แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถบังคับให้คนเลิกทานของหวาน และยากจะห้ามไม่ให้คนทานอาหารเกินปริมาณที่เหมาะสมได้ทุกวัน (แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์เองก็ตาม) ไม่เช่นนั้นคงไม่มีคนป่วยเบาหวานมากขึ้นทุกปี     เมื่อความหวานเป็นความสุขที่ทำให้หลายคนยอมพลีชีพ แม้จะรู้ว่าทานแล้วเป็นการฆ่าตัวตายอย่างช้าๆ จึงเกิดการวิจัยเพื่อหาวิธีให้เราทานเค้กหรือขนมหวานโดยทำร้ายสุขภาพน้อยลง หนึ่งในแนวคิดที่น่าสนใจคือ “ การค้นหาสารที่ออกฤทธิ์คล้ายกับการควบคุมอาหาร ”     * สารที่ออกฤทธิ์คล้ายกับการควบคุมอาหาร  ( Calorie restriction mimetic  หรือ  dietary restriction mimetic ) มีคำจำกัดความกว้างๆว่า เป็นสารที่มีผลชะลอ
Image
👉  อินทผลัมทานแล้วระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง? ผู้ป่วยเบาหวานก็ทานได้ จริงหรือไม่?  👈 🕵‍♂ หากคุณเคยค้นหาสรรพคุณของอินทผลัม อาจพบข้อความกล่าวอ้างว่า “การทานอินทผลัมไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และผู้ป่วยเบาหวานสามารถทานได้” โดยอาจมีการดัดแปลง หรือเสริมข้อความอื่นเพิ่มเติม โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของ Dr. Alkaabi ที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติปี ค.ศ. 2011 [1] ซึ่งการอ้างอิงสั้น ๆ อาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และนำไปสู่วิธีการบริโภคอินทผลัมที่ไม่เหมาะสม ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ ดังนั้นในบทความนี้เราจึงต้องการนำเสนอข้อมูลรายละเอียดในงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเกี่ยวกับอินทผลัม 👨‍🏫  งานวิจัยของ Dr. Alkaabi และคณะ (2011) เป็นการวิจัยในอาสาสมัครสุขภาพดี และอาสาสมัครที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน โดยวิธีการหาค่า glycemic index (GI) ซึ่งเป็นการวัดค่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังจากรับประทานอาหาร ก่อนการทดสอบอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มต้องอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนรับประทานน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม หรือ ผลอินทผลัมที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเทียบเท่ากับก

กับดักโฆษณา

Image
    🌹  กับดักที่สวยงามมักทำให้คุณมองข้ามความอันตราย     “สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” 👨‍🔬  แม้แต่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญก็ผิดพลาดได้ ยิ่งชีวิตประจำวันมีเวลาจำกัด เวลาใส่ใจเรื่องสุขภาพยิ่งน้อยลง ดังนั้นไม่แปลกเลยที่ใครหลายคนจะเลือกซื้อสินค้าจากรูปลักษณ์ภายนอก หรือเลือกโดยใช้สัญชาตญาณ ทำให้ติดกับดักทางการตลาดได้ง่าย โดยเฉพาะในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งมีการแข่งขันที่รุนแรงและกลยุทธทางการตลาดที่หลากหลาย 🌿 กลวิธีเหล่านี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รู้ดีอยู่แล้ว แต่ผู้บริโภคบางท่านอาจรู้ไม่เท่าทัน ดังนั้นวันนี้เราจึงมาแบ่งปันตัวอย่างกับดักในการโฆษณาที่ทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค รวมถึงผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจที่ดี  💕 ตัวอย่างกับดักในการโฆษณา 1. การดึงดูดสายตา 💐  รูปสวยๆ รวมถึงรูปพืชผักสมุนไพรที่ดูเหมือนจะดีต่อสุขภาพ อาจไม่ได้แสดงถึงภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ หรือสื่อถึงส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เพียงบางส่วน ดังนั้นไม่แปลกเลยหากคุณจะหยิบผลิตภัณฑ์ที่ดูสวยงาม รสชาติหอมหวานอร่อย โดยเข้าใจผิดว่าดีต่อสุขภาพ แต่ลืมสังเกตปริมาณน้ำตาลที่ซ่อนอย

"ทานทุเรียนอย่างไรให้สุขภาพดี"

Image
    หนึ่งในความโชคดีของคนไทย คือเราอาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นแหล่งเพาะปลูกทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ 👑 แต่หลายคนอาจกังวล หรือสงสัยเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบของทุเรียนต่อสุขภาพ ดังนั้นเราจึงรวบรวมสาระที่น่าสนใจเกี่ยวกับทุเรียนมาฝากคุณ เพื่อส่งเสริมให้การบริโภคทุเรียนเป็นไปได้อย่างสบายใจ ถูกใจทั้งผู้ให้และผู้รับในระยะยาว 💕 📖 สายพันธุ์     พันธุ์ทุเรียนแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม มีมากกว่า 100 พันธุ์ มีตั้งแต่ราคาเข้าถึงง่ายอย่างทุเรียนหลักร้อยจากเมืองระยอง-จันทบุรี ไปจนถึงทุเรียนราคาแรงแต่คนแย่งจองทุกปีอย่าง “ก้านยาว” เมืองนนท์ นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีการปลูกทุเรียนมากขึ้นในอีกหลายจังหวัด ซึ่งรสชาติอาจแตกต่างกันตามสายพันธุ์ พื้นที่ และวิธีการเพาะปลูก จึงมีรสชาติและกลิ่นมากมายหลายรูปแบบให้คนรักทุเรียนได้ค้นหาและลิ้มลอง 😋 🥇 จุดเด่นของทุเรียน      - ให้พลังงานสูง 134-185 กิโลแคลลอรี่ ต่อน้ำหนักเนื้อทุเรียนสด 1 ขีด หรือ ประมาณ 450 กิโลแคลลอรี่ ต่อน้ำหนักทุเรียนแห้ง 1 ขีด     - มีสารกลูตาไทโอน (glutathione) และสารตั้งต้นของกลูตาไทโอน (γ-glutamylcysteine) สูงกว่าผลไม้ชนิดอื่น 👨‍🏫 สารอาหารหลักในท
Image
กัญชา     ในปัจจุบันเริ่มมีการปลดล็อกการใช้ประโยชน์จากกัญชาในหลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งอาจจะมีระดับการอนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากัญชากำลังกลายเป็นพืชเศรฐกิจสำคัญของโลกที่สั่นสะเทือนไปทั้งวงการวิจัยและพัฒนายา เครื่องสำอาง รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม ความเข้าใจเกี่ยวกับกัญชาอาจมีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของใครหลายคน ดังนั้นวันนี้เราจึงนำตัวอย่างสาระความรู้เกี่ยวกับศักยภาพของกัญชามาฝากทุกท่าน     พืชสกุลกัญชา (Cannabis) สามารถสังเคราะห์ และสะสมสารมากกว่าร้อยชนิด ซึ่งไม่สามารถพบในพืชอื่นได้ สารเหล่านี้เรียกว่า สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) ในกัญชาแต่ละสายพันธุ์จะมีชนิดและปริมาณสารในกลุ่มนี้แตกต่างกัน สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ที่สำคัญ ได้แก่  Δ9-tetrahydrocannabinol (Δ9-THC) และ cannabidiol (CBD) ข้อสังเกตที่น่าสนใจ - แม้ว่า Δ9-THC และ CBD จะเป็นสารหลักในการออกฤทธิ์ แต่สารชนิดอื่นที่พบในกัญชาก็มีฤทธิ์ที่น่าสนใจ และสามารถเสริมฤทธิ์ของสารสองชนิดนี้ได้ - สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์เหล่านี้ไม่ค่อยมีกลิ่น แต่กลิ่นหอมในกัญชามาจากสารในกลุ่มเทอร์พีน (terp

น้ำตาลฟรักโตสปริมาณมากเป็นสาเหตุที่ทำให้ “อ้วน”

Image
หลายคนยังเข้าใจผิดว่าน้ำตาลฟรักโตส (ฟรุกโตส หรือ Fructose) นั้นดีต่อสุขภาพ เพราะมีรสหวานกว่า และให้แคลอรี่น้อยกว่าน้ำตาลกลูโคส นอกจากนี้ระดับเบาหวานมักจะวัดจากปริมาณน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด  ซึ่งน้ำตาลฟรักโตสนั้นมีค่า Glycemic Index ( ค่าดัชนีน้ำตาล , GI) ต่ำกว่ากลูโคส ทำให้ ในอดีต น้ำตาลฟรักโตสเคยถูกแนะนำให้ใช้เป็นสารให้ความหวานทางเลือกเพื่อสุขภาพ แต่ ! หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันบ่งชี้ว่า ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ( Metabolic Syndrome) โดยเฉพาะ เบาหวานและความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด อาจมีสาเหตุสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นคือน้ำตาลฟรักโตส แม้ว่าการรับประทานฟรักโตสปริมาณน้อยอาจไม่สร้างปัญหาให้ร่างกาย แต่ฟรักโตสปริมาณมากจากน้ำตาลที่เติมลงไป (added sugar) ในอาหาร ไม่ว่าจะมาจากน้ำตาลทราย (ซูโครส = กลูโคส + ฟรักโตส ) น้ำเชื่อม น้ำเชื่อมฟรุคโตสสูงจากข้าวโพด ( high fructose corn syrup ) นั้นเป็นสาเหตุ ที่ ทำให้หลายคน “ อ้วน ” ได้ง่าย หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันบ่งชี้ว่า - อาหารที่มีน้ำตาลฟรักโตสสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วน ก่อให้เกิดเกิดเบาหวานและภาวะการดื้ออินซูลิน
Image
ผลไม้บำรุงความจำ   “อยากความจำดี ควรทานอะไร” สมองและความจำเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ ว่าสำหรับ วัยเรียน วัยทำงาน ไปจนถึงวัยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ บทความนี้เราจึงคัดเลือกผักผลไม้ 9 ชนิด ที่สามารถหารับประทานได้ง่ายในประเทศไทย และมีงานวิจัยรองรับว่ามีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจำ หรือลดความเสี่ยงจากภาวะสมองเสื่อม 1) ผลไม้ในสกุลส้ม ( Citrus ) เมื่อเปรียบเทียบชาวญี่ปุ่นที่รับประทานผลไม้สกุลส้มเป็นประจำ กับผู้ที่ทานส้มน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม ( dementia) ต่ำกว่า [1] ทั้งนี้ เนื่องจากผลไม้ตระกูลส้มมีสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ เช่น นารินจิน ( Naringin) ซึ่งส่งผลดีต่อระบบประสาทและสมอง [2] 2) ผลแตงกวา แตงกวามีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ( flavonoids) ชื่อว่า ฟิเซติน (Fisetin) ซึ่งส่งผลดีต่อการลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังต่างๆ รวมถึงระบบประสาทและความจำ [3 , 4] 3) องุ่น นอกจากจะดีต่อสุขภาพในระยะยาวแล้ว การรับประทานน้ำองุ่น ทุกวัน วันละ 1 แก้ว (230 ml) เ ป็น เวลา 3-6 เดือนยังมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความจำทางด้านภาษา หรือคำพูด ( v