กับดักโฆษณา
🌹 กับดักที่สวยงามมักทำให้คุณมองข้ามความอันตราย
“สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง”
👨🔬 แม้แต่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญก็ผิดพลาดได้ ยิ่งชีวิตประจำวันมีเวลาจำกัด เวลาใส่ใจเรื่องสุขภาพยิ่งน้อยลง ดังนั้นไม่แปลกเลยที่ใครหลายคนจะเลือกซื้อสินค้าจากรูปลักษณ์ภายนอก หรือเลือกโดยใช้สัญชาตญาณ ทำให้ติดกับดักทางการตลาดได้ง่าย โดยเฉพาะในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งมีการแข่งขันที่รุนแรงและกลยุทธทางการตลาดที่หลากหลาย🌿
กลวิธีเหล่านี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รู้ดีอยู่แล้ว แต่ผู้บริโภคบางท่านอาจรู้ไม่เท่าทัน ดังนั้นวันนี้เราจึงมาแบ่งปันตัวอย่างกับดักในการโฆษณาที่ทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค รวมถึงผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจที่ดี 💕
ตัวอย่างกับดักในการโฆษณา
1. การดึงดูดสายตา
💐 รูปสวยๆ รวมถึงรูปพืชผักสมุนไพรที่ดูเหมือนจะดีต่อสุขภาพ อาจไม่ได้แสดงถึงภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ หรือสื่อถึงส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เพียงบางส่วน ดังนั้นไม่แปลกเลยหากคุณจะหยิบผลิตภัณฑ์ที่ดูสวยงาม รสชาติหอมหวานอร่อย โดยเข้าใจผิดว่าดีต่อสุขภาพ แต่ลืมสังเกตปริมาณน้ำตาลที่ซ่อนอยู่
🕵♂ การดึงดูดสายตาด้วยตัวอักษรก็พบได้บ่อย เช่น การใช้คำว่า Low fat หรือ 0% fat ตัวใหญ่ๆ ทำให้หลายคนลืมสังเกตปริมาณน้ำตาล หรือข้อเสียอื่นๆได้เช่นกัน
💐 รูปสวยๆ รวมถึงรูปพืชผักสมุนไพรที่ดูเหมือนจะดีต่อสุขภาพ อาจไม่ได้แสดงถึงภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ หรือสื่อถึงส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เพียงบางส่วน ดังนั้นไม่แปลกเลยหากคุณจะหยิบผลิตภัณฑ์ที่ดูสวยงาม รสชาติหอมหวานอร่อย โดยเข้าใจผิดว่าดีต่อสุขภาพ แต่ลืมสังเกตปริมาณน้ำตาลที่ซ่อนอยู่
🕵♂ การดึงดูดสายตาด้วยตัวอักษรก็พบได้บ่อย เช่น การใช้คำว่า Low fat หรือ 0% fat ตัวใหญ่ๆ ทำให้หลายคนลืมสังเกตปริมาณน้ำตาล หรือข้อเสียอื่นๆได้เช่นกัน
2. ใช้ความเคยชิน
🔔 คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าผลิตภัณฑ์ที่มีแคลอรี่ที่ต่ำ ดีต่อสุขภาพมากกว่า แต่ความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ตัวอย่างเช่น น้ำตาลฟรักโตส (ฟรุกโตส หรือ Fructose) ให้แคลอรี่น้อยกว่าน้ำตาลกลูโคส ทำให้ในอดีตน้ำตาลฟรักโตสเคยถูกแนะนำให้ใช้เป็นสารให้ความหวานทางเลือกเพื่อสุขภาพ (ซึ่งปัจจุบันหลายคนยังเข้าใจผิด และน้ำตาลฟรักโตสปริมาณสูงยังถูกใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหลายชนิดอยู่) แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันบ่งชี้ว่าภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) โดยเฉพาะ โรคอ้วน เบาหวาน และความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด มีสาเหตุสำคัญมาจากการทานน้ำตาลฟรักโตสปริมาณสูง (น้ำตาลทราย หรือซูโครส เมื่อทานเข้าไปร่างกายจะย่อยเป็นน้ำตาลฟรักโตสได้ จึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน) ดังนั้นถ้าไม่แสวงหาความรู้และสังเกตให้ดี คุณอาจติดกับดักที่แนบเนียนได้โดยไม่รู้ตัวเลย
🔔 คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าผลิตภัณฑ์ที่มีแคลอรี่ที่ต่ำ ดีต่อสุขภาพมากกว่า แต่ความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ตัวอย่างเช่น น้ำตาลฟรักโตส (ฟรุกโตส หรือ Fructose) ให้แคลอรี่น้อยกว่าน้ำตาลกลูโคส ทำให้ในอดีตน้ำตาลฟรักโตสเคยถูกแนะนำให้ใช้เป็นสารให้ความหวานทางเลือกเพื่อสุขภาพ (ซึ่งปัจจุบันหลายคนยังเข้าใจผิด และน้ำตาลฟรักโตสปริมาณสูงยังถูกใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหลายชนิดอยู่) แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันบ่งชี้ว่าภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) โดยเฉพาะ โรคอ้วน เบาหวาน และความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด มีสาเหตุสำคัญมาจากการทานน้ำตาลฟรักโตสปริมาณสูง (น้ำตาลทราย หรือซูโครส เมื่อทานเข้าไปร่างกายจะย่อยเป็นน้ำตาลฟรักโตสได้ จึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน) ดังนั้นถ้าไม่แสวงหาความรู้และสังเกตให้ดี คุณอาจติดกับดักที่แนบเนียนได้โดยไม่รู้ตัวเลย
3. ผู้มีชื่อเสียง
🐧 การสนับสนุนจาก ดารา นักร้อง ผู้มีชื่อเสียง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในวงกว้าง แต่บุคคลเหล่านี้ก็อาจตัดสินใจผิดพลาดได้เช่นกัน ดังนั้นการเลือกซื้อสินค้าควรพิจารณาที่คุณภาพสินค้าโดยตรง และติดตามข่าวสารด้านสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
🐧 การสนับสนุนจาก ดารา นักร้อง ผู้มีชื่อเสียง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในวงกว้าง แต่บุคคลเหล่านี้ก็อาจตัดสินใจผิดพลาดได้เช่นกัน ดังนั้นการเลือกซื้อสินค้าควรพิจารณาที่คุณภาพสินค้าโดยตรง และติดตามข่าวสารด้านสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
4. สรรพคุณมหัศจรรย์
🎭 ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและอาหารเสริม มีประโยชน์ในการให้สารอาหารสำคัญต่อร่างกาย หรือส่งเสริมสุขภาพ ต่างจากผลิตภัณฑ์ที่จัดเป็นยา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อบำบัด รักษา หรือ ป้องกันโรค ดังนั้น ไม่ควรเชื่อ และคาดหวังในสรรพคุณทางยาจากอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากเกินไป จนทำให้โดนล่อลวงด้วยโฆษณาเกินจริง
🎭 ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและอาหารเสริม มีประโยชน์ในการให้สารอาหารสำคัญต่อร่างกาย หรือส่งเสริมสุขภาพ ต่างจากผลิตภัณฑ์ที่จัดเป็นยา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อบำบัด รักษา หรือ ป้องกันโรค ดังนั้น ไม่ควรเชื่อ และคาดหวังในสรรพคุณทางยาจากอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากเกินไป จนทำให้โดนล่อลวงด้วยโฆษณาเกินจริง
🎯 สำหรับบทความนี้เราไม่ได้มีเจตนาโจมตีผู้ประกอบการรายใด กลวิธีเหล่านี้ถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพทางการตลาดที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน และจำเป็นสำหรับธุรกิจ เราเพียงต้องการสนับสนุนให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใจและเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการได้ดีขึ้น และต้องการนำเสนอว่ากลวิธีโฆษณาเหล่านี้ไม่ได้บ่งชี้ถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยตรง แต่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบทั้งหมดและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องการให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคใส่ใจ เพราะเราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี 💕
ด้วยความห่วงใยจาก Gibb Corner 💕
📚 แหล่งอ้างอิง
[1] Bocarsly et al., 2010. doi.org/10.1016/j.pbb.2010.02.012
[2] Campos and Tappy. 2016. doi: 10.1038/ijo.2016.8
[3] Dornas et al., 2015. doi: 10.3945/an.114.008144
[4] Khan and Sievenpiper, 2016. doi: 10.1007/s00394-016-1345-3
[5] Sievenpiper et al., 2012. doi: 10.7326/0003-4819-156-4-201202210-00007
[6] Stanhope et al., 2014. doi: 10.1097/MOL.0b013e3283613bca
[7] Tappy and Lê., 2010. doi: 10.1152/physrev.00019.2009
[8] ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 293) พ.ศ.2548 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร.
[2] Campos and Tappy. 2016. doi: 10.1038/ijo.2016.8
[3] Dornas et al., 2015. doi: 10.3945/an.114.008144
[4] Khan and Sievenpiper, 2016. doi: 10.1007/s00394-016-1345-3
[5] Sievenpiper et al., 2012. doi: 10.7326/0003-4819-156-4-201202210-00007
[6] Stanhope et al., 2014. doi: 10.1097/MOL.0b013e3283613bca
[7] Tappy and Lê., 2010. doi: 10.1152/physrev.00019.2009
[8] ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 293) พ.ศ.2548 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร.
Comments
Post a Comment